Home
>
Knowledge Sharing
RECAP from Meet the Fulbrighters Series: อาชีพในสาย Pure & Applied Science

ในขณะที่ประเทศเราให้ความสำคัญกับการเรียนสายวิทยาศาสตร์อย่างมากมีหน่วยงานและมาตรการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์มีการอบรมครูอาจารย์อย่างต่อเนื่อง เรียกว่าให้ input กับอย่างเต็มที่แต่เราอาจจะยังไม่ได้ให้ภาพที่ชัดเจนนัก ว่าเรียนสายวิทยาศาสตร์แล้วทำอะไรได้บ้างนอกจากอาชีพมาตรฐานทั้งหลาย เมื่อตอนฟุลไบรท์ชวนพี่ ๆ สาย pure and applied science มาคุยกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม เราเลยถามพี่ ๆถึงโอกาสงานในสายนี้ โดยเฉพาะคนที่เรียนระดับปริญญาเอก

 

ต้องเกริ่นนิดนึงก่อนว่า พี่ ๆที่มาคุยกับเราวันนั้นมีทั้งพี่เกรซสาย geology – ธรณีวิทยาเน้นด้านการวิเคราะห์แผ่นดินไหวด้วยภาพถ่ายดาวเทียม, พี่แม็คสาย comparative biomedical science(marine veterinary) – วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์เปรียบเทียบ(สัตวแพทย์ทางทะเล) เน้นด้านไวรัสในโลมา พี่แบงค์สาย paleoclimatology/ paleoceanography- ภูมิอากาศบรรพกาลวิทยา/ประวัติศาสตร์ของมหาสมุทรในอดีตทางธรณีวิทยาเน้นเรื่องโลกร้อน และพี่พอลสาย plant science – พฤกษศาสตร์  เน้นโลกร้อนและผลกระทบต่อคุณภาพข้าวสาลีทั้งหมดนี้เป็นสายที่เฉพาะเจาะจงมาก ๆ แล้วโอกาสงานล่ะ จะเจาะจงแค่ไหน

 

พี่ๆ ทุกคนพูดเหมือนกันว่าโอกาสงานนั้นมีอยู่เยอะมากกกกกที่เราติดกับอาชีพมาตรฐานก็เพราะหลายคนที่เรียนสายนี้ในระดับปริญญาโทปริญญาเอกมักเป็นนักเรียนทุนซึ่งก็ต้องกลับไปเป็นอาจารย์ ข้าราชการ ก็เลยสร้างกรอบความคิดแบบนี้ขึ้นมา ที่จริงการเรียนสาขาpure and applied science โดยเฉพาะในระดับหลังปริญญาตรีนั้นจะทำให้เรามีtransferable skill set ชุดนึงที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อยู่เรื่อยๆ ไม่เฉพาะในเรื่องที่เป็น specialization ของเราเท่านั้นอีกอย่าง ยิ่งเรียนระดับสูงขึ้นก็จะยิ่งมีความเป็น multidisciplinary มากขึ้นskill set ของเราก็จะได้รับการขัดเกลาให้สามารถปรับใช้ในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น

 

ยกตัวอย่างสายearth and ocean แม้ว่าจะเรียนแบบเจาะจงมาก ๆอย่างเรื่องแผ่นดินไหว แต่พี่เกรซย้ำว่าไม่ต้องห่วงเรื่องงานเลย เพราะเราจะมี transferable skill set อย่างการใช้โปรแกรมในการทำแผนที่และการอ่านค่าต่าง ๆ จากดาวเทียม ซึ่งเป็นที่ต้องการของบริษัทที่ปรึกษาบริษัทด้านการวางแผน หรือบริษัทประกันชีวิตที่ต้องคำนวณค่าประกันกรณีเกิดแผ่นดินไหวนอกจากนี้ก็ยังสามารถทำงานร่วมกับวิศวกรโยธาในโครงการต่าง ๆเพราะสมัยนี้การสร้างตึกก็ต้องคำนวนให้สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้อีกด้วย

 

ส่วนสายearth and environmental science นั้น พี่แบงก์บอกว่า โดย natureแล้วจะเป็นการศึกษาระดับ global scale ก็เลยมีงานทั้งระดับรัฐบาลเช่นกรมอุตุฯเอกชนเช่นธุรกิจน้ำมัน ไปจนถึงองค์การระหว่างประเทศอย่างworld bank ที่มีตำแหน่ง climate change analystหรือ climate change technician ยิ่งตอนนี้ทุกที่กำลังให้ความสนใจกับผลกระทบของภัยธรรมชาติต่อเศรษฐกิจก็ต้องมีการทำ risk analysis ในทุก ๆ เรื่องต้องรู้ว่ากระบวนการทางธรรมชาติที่เราศึกษามี uncertainty อะไรบ้างต้องสามารถเปลี่ยนองค์ความรู้ที่จับต้องไม่ได้ออกมาเป็นตัวเลขที่จับต้องได้ ซึ่งในอนาคตประเทศไทยก็ต้องมีการทำrisk analysis มากขึ้นแน่นอน ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีงานเพียงแต่งานจะเปลี่ยนไปตามบริบทของโลกว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรต้องแก้และอะไรเป็นสิ่งที่เราทำได้เพื่อที่จะแก้ปัญหานั้น

 

สำหรับสาขา comparative biomedical scienceที่พี่แม็คเรียนก็เหมือนกัน แม้ว่าพื้นจะเป็นสัตวแพทย์แต่พอเรียนปริญญาเอกก็เหมือนได้รวมทุกสาขาของbiology เข้าด้วยกัน คนที่จบไปก็จะมี offer จากบริษัทพวกresearch and development institutions บริษัทผลิตยาผลิตวัคซีน ผลิต stem cell บริษัทศึกษาเรื่องการตัดต่อยีนส์ขายชุดตรวจ ต่อไปในไทยก็จะมีบริษัทแบบนี้มาตั้ง และนอกจากอเมริกาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่เปิดรับคนที่จบด้านนี้ไปทำงานเช่น แคนาดา ตะวันออกกลาง ยุโรป ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน

 

ส่วนพี่พอลที่เรียนด้านplant science  ก็ชี้ให้เห็นว่าการเรียนปริญญาเอกเป็นการเรียนวิธีคิดเรียนการทำวิจัย เพื่อเติมความรู้เข้าไปในวงการ ทักษะที่ได้จะเป็น transferable skills เป็นทักษะที่ใช้ได้ไม่จำกัดสาขาอาชีพ โดยเฉพาะทักษะการวิเคราะห์หาข้อสรุป รวมถึงการสื่อสารผลการวิเคราะห์ให้คนเข้าใจได้ ที่ผ่านมาพี่พอลมีโอกาสฝึกงานกับventure capitalist ที่ไปลงทุนใน start up หรือหน่วยงานที่กำลังโตก็เลยรู้ว่ามีโอกาสงานในอุตสาหกรรมอาหารที่ตอนนี้กำลัง boom อย่างมากเช่นการผลิตโปรตีนจากพืช หรือเข้าไปอยู่ในบริษัทการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

 

จะเห็นว่าจริงๆ แล้ว งานมีอยู่มากมายหลากหลาย เพียงแต่เราอาจจะยังไม่รู้ว่ามี เพราะบ้านเราไม่มีหรือมีคนทำน้อยจนเราไม่รู้ว่ามี หรืออาจจะมีงานเกิดขึ้นใหม่ ๆ ในอนาคต พี่ ๆเลยแนะนำให้เราเอาความชอบเป็นตัวตั้ง ดูว่าเรามีความสุขกับอะไร และทำอะไรได้ดีจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองในสิ่งใหม่ ๆ เปิดโลกไปพบเจออะไรที่แตกต่าง นอกจากนั้นเมื่อไปเรียนที่อเมริกาแล้วเราจะได้รู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวในวงการของเราเพิ่มเติมจากconnection ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อนใน lab  ที่ทำงาน รุ่นพี่รุ่นน้อง ดังนั้นอย่ามัวแต่เรียน แต่ออกไปทำกิจกรรมและพูดคุยกับคนรอบข้างเยอะ ๆ

 

พี่พอลสรุปไว้ให้ว่า ชีวิตคือการเดินทาง passionของเราวันนี้ อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ในวันหน้า เพราะเราจะโตขึ้นเรื่อยๆ มีประสบการณ์ใหม่ ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ เราสามารถเรียนสิ่งใหม่ ๆ unlearnrelearn อยู่ตลอดเวลา ทำให้เรามองโลกได้กว้างขึ้นเห็นทางที่จะเดินได้หลายทางขึ้น ถ้ารู้สึกว่าทางนี้ไม่ใช่แล้ว ก็สามารถเดินกลับได้ไม่จำเป็นต้องกดดันตัวเอง

 

ใครสนใจฟังฉบับเต็มของ Meet the Fulbrighters Series: Study Pure & Applied Science in the U.S. เข้าไปได้ที่ https://www.facebook.com/353795897307/videos/192470062421053