Home
>
Knowledge Sharing
RECAP from Predeparture Orientation: อาจารย์หมอยงเล่าเรื่องโควิด ตอน 1

ทุกปีฟุลไบรท์จะจัดปฐมนิเทศก่อนเดินทางให้ผู้รับทุนชาวไทยจากทุกทุนปีนี้เราจัดให้มาเจอกันตัวเป็น ๆ ไม่ได้เลยต้องย้ายมาจัดออนไลน์แต่ก็มีข้อดีคือเราได้แขกรับเชิญที่คงจะเชิญได้ยากมากในสถานการณ์ปกติ ซึ่ง sessionนึงที่มีประโยชน์มาก ๆ และคิดว่าเรื่องนี้ต้องขยาย คือ sessionที่อาจารย์หมอยงกรุณามาเล่าให้พวกเราฟังเกี่ยวกับโควิด แต่ด้วยความที่เราคุยกันเยอะมากขนาดสรุปแล้วยังต้องแบ่งเป็นสองตอน

 

ในช่วงแรกอาจารย์ยงเกริ่นให้เราเห็นภาพโรคระบาดขนาดใหญ่ในประเทศไทยว่า เมื่อ 200ปีก่อนมีการระบาดของอหิวาตกโรค มีคนตายเยอะมาก ๆ จนเผาศพกันไม่ทันต้องทิ้งให้แร้งกินผ่านไปอีก 100 ปี ก็มีไข้หวัดสเปนเข้ามา คนตายไปประมาณ 1% ของประชากรทั้งหมดและอายุขัยของประชากรก็สั้นลง 7 ปีการระบาดทั้งสองครั้งเราไม่มีมาตรการรรับมือแบบในปัจจุบัน ต้องปล่อยให้ระบาดไปใช้เวลาประมาณ 2 ปีถึงได้สงบลง

 

ตอนผ่านมาครบร้อยปีพอดีก็มีโควิดเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยเหมือนเมื่อ 200 ปี 100 ปีที่ผ่านมา โรคก็จะระบาดไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2 ปีคือสิ้นปีนี้ก็น่าจะสงบ แต่เราก็จะเสียประชากรไปประมาณ 1% หรือประมาณ7 แสนคน ซึ่งเรายอมไม่ได้ ก็เลยต้องมีมาตรการต่าง ๆ เช่น social distancingการ lockdown เพื่อลดการสูญเสียชีวิตแต่จะลดการเสียชีวิตได้ก็ต้องให้มีคนติดโรคกันเยอะ ๆ ก่อน และต้องเป็นการติดโรคที่ไม่มีอาการซึ่งทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนเท่านั้น ก็ต้องเลือกเอาว่าเราอยากเป็นโรคแบบไหนแบบเป็นโรคจริง ๆ หรือแบบฉีดวัคซีน ถ้าไม่ฉีดจะยอมเป็นโรคจริง ๆก็มีโอกาสเสียชีวิต 1%

 

เมื่อก่อนเราจะดูว่ากลุ่มเสี่ยงคือกลุ่มที่มากจากแหล่งระบาดแต่ตอนนี้ประเทศเราได้กลายเป็นแหล่งระบาดไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าใครมีไข้ ปวดเมื่อยมีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลย ส่วนความรุนแรงของโรคนั้น อาจารย์หมอแบ่งไว้เป็น3 ระดับคือกลุ่มคนไข้สีเขียว สีเหลือง และสีแดงกลุ่มสีเขียวจะเป็นกลุ่มที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการเลย เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดคิดเป็นประมาณ80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด กลุ่มนี้จะรักษาในโรงพยาบาลสนามหรือhospitel ส่วนกลุ่มสีเหลืองคือคนไข้ที่มีอาการมากขึ้นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ถ้าป่วยหนักต้องนอน icu ก็จะเป็นกลุ่มสีแดงซึ่งมีอยู่ประมาณ 5% และใน 5 % นี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ1% ขึ้นกับอายุ อายุมากก็เสี่ยงมาก เช่น ช่วงอายุ10-39 อัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ประมาณ 0.2% เทียบกับอัตราการเสียชีวิต1.3% และ 3.6% ของช่วงอายุ50-59 และ 60-69

 

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เป็นโรควัคซีนทุกตัวที่มีอยู่ตอนนี้ทำได้แค่ป้องกันความรุนแรงของโรค คือยังเป็นโรคได้แต่ไม่รุนแรง และไม่ตาย

 

แล้ววัคซีนที่มีอยู่มันต่างกันยังไง

 

ตอบง่ายๆ ว่าต่างกันตรงกลุ่มนึงผลิตจากเชื้อตาย อีกกลุ่มจากเชื้อเป็น

 

กลุ่มที่ผลิตจากเชื้อตายเป็นการผลิตแบบ traditional เหมือนวัคซีนพิษสุนัขบ้าตับอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ต้องเพาะเชื้อในห้องที่มี biosafety สูง โรงงานต้องใหญ่ความปลอดภัยต้องสูงมาก ทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย แต่ข้อดีคือสามารถผลิตได้เร็วความปลอดภัยสูง  พอคาดการณ์ sideeffects ได้ ตอนนี้มีแค่ 3 บริษัทที่ผลิตแบบนี้ คือSinovac, Sinopharm, และ Bharat ของอินเดีย

 

อีกกลุ่มนึงจะเป็นการใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกันคือgenetic engineering ต่างกันแค่ว่าจะนำรหัสพันธุกรรมเข้ามาในร่างกายเรายังไง จะเป็นการใช้ชีววัตถุ mRNA หรือviral vector ตัวที่ใช้ mRNA เป็นเทคนิคผลิตวัคซีนที่ยังไม่เคยถูกใช้กับใครมาก่อนแต่เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินจึงได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ได้เป็นพิเศษอันนี้ก็ได้แก่ Pfizer และ Moderna ส่วนตัวที่ใช้viral vector จะเป็นการเอารหัสพันธุกรรมฝากให้ไวรัสแล้วเอาไวรัสฉีดเข้าร่างกายเราซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่ใช้ผลิตวัคซีนอีโบลา พวกนี้ได้แก่  AstraZeneca, Johnson & Johnson และ Sputnik

 

อาจารย์ย้ำมากว่าอย่านำตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนมาเปรียบเทียบกัน เพราะแต่ละยี่ห้อไม่ได้ทำการศึกษาจากสถานที่เดียวกันช่วงเวลาเดียวกัน ประชากรกลุ่มเดียวกัน และไวรัสก็ต่างสายพันธุ์กันดังนั้นประสิทธิภาพก็ต้องต่างกัน ยกตัวอย่าง Pfizer และ Johnson& Johnson มีทดลองในอเมริกาเหมือนกันมองจากตัวเลขเหมือน Pfizerดีกว่า แต่ที่จริงแล้ว Pfizerทดลองตอนมีความชุกของโรคต่ำซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพสูงกว่าการทดลองในเวลาที่ความชุกของโรคสูงขณะที่ Johnson & Johnsonทดลองตอนความชุกของโรคสูง ประสิทธิภาพของวัคซีนก็จะต่ำ

 

แล้วเราควรฉีดวัคซีนอะไร

 

อาจารย์เล่าว่าที่ฮ่องกงสิงคโปร์ มีวัคซีน Pfizerกับ Moderna แต่อยากฉีดวัคซีนจีน ไทยมีวัคซีนจีนแต่อยากฉีด Pfizer ตอนนี้มีอะไรก็ควรฉีดไปก่อนฉีดให้เร็วที่สุด โดยตัดเรื่องการเมืองออกไป เพราะเราต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อนถ้าถึงเวลาจะเดินทางไปไหน เขาไม่ให้เข้าประเทศ ก็ค่อยไปฉีดเพิ่มได้

 

ถามว่าใครที่ควรฉีดวัคซีน มีข้อห้าม ข้อกังวลอะไรบ้าง

 

อาจารย์ตอบว่าก็ควรต้องฉีดกันทุกคน จะยกเว้นก็คนที่มี critical ill เจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลต้องผ่าตัด อันนี้เลื่อนไปก่อนได้ ก่อนฉีดใครใช้ชีวิตปกติแบบไหนก็ใช้แบบนั้นไปไม่ต้องงดอะไร เช่น ปกติดื่มกาแฟก็ดื่มไป แต่ถ้าปกติไม่ดื่มก็อย่าไปดื่มวันที่ฉีด เรื่องการมีประจำเดือนและการกินยาคุมก็เช่นกัน

 

คนท้องก็ควรฉีดเพราะมีคนท้องที่ตายเพราะโควิดไปแล้วอย่างน้อย 6 รายแต่ก่อนจะฉีดควรรอให้พ้นสัปดาห์ที่ 12 ไปก่อน

 

ส่วนเรื่องลิ่มเลือดนั้นจริง ๆ แล้วเกิดได้หลายสาเหตุ  และมักเป็นกับชาวตะวันตกมากกว่าเอเชียประมาณ 5เท่า วัคซีนที่เป็น viral vectorก็สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ แต่ถ้าวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่คนชอบเอาลิ่มเลือดจากสาเหตุอื่นมาโยนความผิดให้วัคซีน

 

ถ้าใครกลัวแพ้วัคซีนกลัวมีปัญหา ก็แนะนำว่าฉีดแล้วก็ให้ observeในโรงพยาบาลนานหน่อย

 

อาจารย์ยังยกตัวอย่างอิสราเอลซึ่งเป็นประเทศที่มีการฉีดวัคซีนต่อประชากรมากที่สุดจำนวนคนไข้โควิดในอิสราเอลลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากมีการฉีดวัคซีนโดยอัตราตายร่วม 100 คนต่อวันในเดือนมกราคมลดลงจนเหลือเกือบ 0 คนในเดือนพฤษภาคม เช่นเดียวกับอังกฤษและฝรั่งเศสที่มีประชากรใกล้เคียงกันเริ่มฉีดวัคซีนใกล้ ๆ กันแต่ฝรั่งเศสหยุดฉีดตอนที่มีข่าวเรื่องลิ่มเลือดทำให้ตอนนี้อังกฤษมีจำนวนคนไข้ลดลงอย่างมากจำนวนคนตายแทบไม่มี ขณะที่ฝรั่งเศสมีคนตายเกือบ 100 คนต่อวันในเดือนพฤษภาคม

 

มาถึงตรงนี้ชาวฟุลไบรท์ก็มีคำถามตามมามากมาย ซึ่งโปรดติดตามตอนต่อไป