Home
>
Knowledge Sharing
RECAP from Predeparture Orientation: อาจารย์หมอยงเล่าเรื่องโควิด ตอน 2

หลังจากที่อาจารย์ได้เกริ่นให้เราเห็นภาพเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดและความสำคัญของการฉีดวัคซีนไปแล้ว เราก็เปิดให้เป็นช่วงซักถาม ซึ่งหลายคำถามก็น่าจะเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปด้วยเลยมาสรุปให้ฟังกันคร่าว ๆ ประมาณนี้

 

1. ฉีดวัคซีนครบแล้ว ยังต้องระวังอะไรบ้างโดยเฉพาะเมื่อไปถึงอเมริกาและอยู่ในเขตที่ยังมีการติดเชื้อสูงอยู่

อาจารย์ตอบว่าการปฏิบัติตัวแบบที่เราทำอยู่ทุกวันนี้(ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ฯลฯ) ถือว่าดีกว่าทางตะวันตกมากจะเห็นว่าอัตราการติดเชื้อในอเมริกา แม้ว่าลดลงแล้วเนื่องจากมีการระดมฉีดวัคซีนแต่ก็ยังสูงกว่าไทยเมื่อดูจากสัดส่วนผู้ป่วยต่อจำนวนประชากรดังนั้นอะไรที่เคยทำอยู่ ก็ทำต่อไป อย่าประมาท เพราะฉีดวัคซีนแล้วก็ยังติดได้เพียงแต่ไม่รุนแรง เมื่อมี herd immunity พอสมควรแล้ว densityของโรคจะน้อยลง เราจึงสามารถค่อย ๆ ผ่อนการปฏิบัติตัวลงได้

 

2. อาการข้างเคียงจาก Sinovac

   immunization stress-related syndrome (การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจาก

   การก่อภูมิคุ้มกัน) เช่น ชา แขนขาอ่อนแรง คล้าย ๆอาการของอัมพฤกษ์อัมพาต ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดได้หลายคนเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับกระบวนการฉีดวัคซีน แต่ยังไม่มีใครรู้ว่าจริง ๆแล้วเกิดจากอะไร มีการติดตามอาการและตรวจสอบด้วยเครื่อง MRI ดูกระทั่ง brain function ก็ไม่พบพยาธิสภาพของโรค และทุกคนก็กลับมาหายเป็นปกติส่วนที่มีข่าวบ่อย ๆ เกี่ยวกับอาการข้างเคียงของ Sinovac นั้นอาจารย์ตอบว่าเพราะเท่าที่ฉีดไป เราฉีด Sinovacมากกว่าAstraZeneca มาก คนที่มีอาการข้างเคียงกับSinovac ก็เลยมีมากกว่า AstraZeneca นั่นเอง

 

3. ถ้าฉีด Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว ไปอเมริกาซึ่ง require ให้ฉีดตัวอื่น จะฉีดได้มั๊ย

คำตอบคือ ได้ อาจารย์ย้ำอีกรอบว่าตอนนี้มีอะไรฉีดได้ก็ฉีดไปก่อน เพื่อป้องกันสถานการณ์ที่บ้านเราวันข้างหน้าถ้าไปที่ไหน จำเป็นต้องฉีดอะไรก็ฉีดอีกได้ ปกติถ้าฉีดครบแล้วจะสามารถกันได้ถึง6 เดือนหลังจากนั้นค่อยฉีดกระตุ้นภูมิ แต่ถ้าต้องฉีดก่อนครบ 6เดือนก็ไม่มีข้อเสียอะไร ถ้าภูมิสูงขึ้นก็เหมือนน้ำเต็มถังแล้วล้นออกไป ร่างกายจะไม่เก็บไว้

 

4. Sinovac กับคนอายุเกิน 60

ในการศึกษา phase 2 ของ Sinovac พบว่าภูมิต้านทานของคนอายุเกิน 60 กับคนที่อายุน้อยกว่า 60 ไม่ต่างกันแต่พอศึกษาต่อใน phase 3 เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนเขาไปศึกษากับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีคนอายุเกิน 60 เพียง 3% ไม่เพียงพอที่จะบอกประสิทธิภาพของวัคซีนในคนกลุ่มนี้ได้ทางองค์การอาหารและยาก็เลยขอให้ฉีดในคนที่อายุ 18-59 ถ้าจะฉีดให้คนที่อายุเกิน 60ให้คำนึงถึง risk benefit ก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้น ในสถานการณ์จริงตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ก็ฉีด Sinovac ให้กับคนสูงอายุ

 

5. กินยาประจำฉีดได้มั๊ย

อาจารย์ยืนยันว่า ได้ ถ้าฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ก็ฉีดโควิดได้ วัคซีนที่ฉีดอยู่ตอนนี้ถือว่าเป็นเชื้อตาย แม้ว่า AstraZeneca ที่เป็น viral vector จะมีชีวิต แต่ก็ถูกทำหมันเรียบร้อยแล้วไม่สามารถแบ่งตัวได้ เลยเปรียบเสมือนเชื้อตาย ไปเพิ่มจำนวนในร่างกายเราไม่ได้

 

6. แหล่งข้อมุลที่น่าเชื่อถือ

ก่อนจบ session เราถามอาจารย์เรื่องแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้นอกเหนือจากเพจของอาจารย์เพราะตอนนี้รู้สึกเหมือนโดนสัดสาดด้วยข้อมูลต่าง ๆ นา ๆอาจารย์อธิบายว่าผลกระทบอย่างนึงเมื่อเกิดสิ่งร้ายแรงเช่นโรคระบาดคือ posttraumatic stress โดยเฉพาะจากการเสพสื่อที่เน้นข่าวในเชิงลบ fakeinformation, premature information, shocking news ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหวาดกลัว ตื่นตัว สะดุ้ง ไม่มีสมาธิ เครียดง่ายดังนั้นอาจารย์จึงแนะว่าให้ลองหยุดเช็คข่าวบ้าง ถ้าต้องการข้อมูลที่เชื่อถือได้ก็เข้าไปดูของกระทรวงสาธารณสุขกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมอนามัยเพราะเขาพยายามรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญมาย่อยให้เราเพียงแต่ข้อมูลจากหน่วยงานราชการอาจจะดูไม่ตื่นตาตื่นใจ ไม่ทันสมัยเท่าข่าวที่คนนำมาขยายสู่กันฟัง

 

จบ session นี้แล้วทุกคนก็รู้สึกเชื่อมั่นหายกันเครียดไปฟุลไบรท์เองขอขอบคุณอาจารย์หมอยงอีกครั้งที่กรุณาจัดสรรเวลามาอยู่กับพวกเราแบบเต็มๆ และขอบคุณนุ่ม ณวรรณ ภู่วรวรรณ 2002 Fulbrighter ที่เป็นสะพานเชื่อมเราไปถึงคุณลุงทำให้งาน predeparture orientation ครั้งนี้มีความพิเศษและเป็นประโยชน์มากๆ