Home
>
Knowledge Sharing
TGS กับ 7 คำถามสุดฮิต ตอน 1

ช่วงนี้ฟุลไบรท์จัดsharingsession ของทุน TGS คึกคักมากมีทั้งแบบรวมและแบบแยกสาย ล่าสุดเพิ่งจัด TGS สายสถาปัตย์และกฎหมายไปคนเข้ามาฟังกันจริงจังมาก อยู่ครบตั้งแต่ต้นจนจบ มีคำถามส่งเข้ามาตลอดฟุลไบรท์เลยลองจัดหมวดคำถามยอดฮิตของทุน TGS ออกมาได้ 7กลุ่ม เป็นคำถาม across fields ปรับใช้ได้กับทุกสาขาวิชาที่สมัครเนื่องจากข้อมูลเยอะเลยต้องแบ่งเป็นตอน ๆ วันนี้จะขอเล่าแค่ 2 กลุ่มก่อนนะ

 

กลุ่มที่1:เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ

 

เรารู้กันว่าฟุลไบรท์ให้ทุน2 ปี ปีแรกไม่เกิน $35,500 และปีที่สองไม่เกิน $17,500 ซึ่งเป็นค่าเทอมและค่ากินอยู่ “ตามจริง”นอกจากนี้จะมีตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ประกันอุบัติเหตุ ค่าขนของ และค่าอื่น ๆจิปาถะ

 

ทีนี้ก็มีคำถามว่าถ้าไม่พอจะทำยังไงอันนี้ขออธิบายว่า ก่อนตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเราจะคุยกันก่อนว่าทุนครอบคลุมระดับไหนถ้ามุ่งมั่นจะเรียนที่มหาวิทยาลัยค่าเทอมแพง เมืองที่ค่าครองชีพแพงผู้รับทุนจะรู้ล่วงหน้าก่อน และประเมินว่าตัวเองสามารถออกส่วนต่างไหวมั๊ยแต่ถ้าไม่ต้องการออกส่วนต่างก็แนะนำให้สมัครมหาวิทยาลัยที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไปซึ่งก็มีชื่อเสียงและมีคุณภาพไม่ด้อยไปกว่ากัน

 

คำถามต่อมาคือมีทางหาทุนเพิ่มเติมได้รึเปล่า ยังไงบ้าง เนื่องจากผู้รับทุนฟุลไบรท์จะได้วีซ่า J-1 ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ยกเว้น งานที่เป็น academic-related ในแคมปัสเช่นงานพวก Teaching Assistant (TA), Research Assistant (RA), GraduateAssistant (GA) ที่จะทำได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมง/อาทิตย์กรณีที่เรียนปริญญาเอก ซึ่งมีระยะเวลาเกิน 2 ปีผู้รับทุนสามารถคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อดูว่าจะขอยกเว้นค่าเรียน หรือสมัครเป็นTA, RA, GA เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายได้รึเปล่า

 

แถมอีก1 คำถามคือต้องใช้ financial statement มั๊ย คำตอบคือ ตอนสมัครทุนฟุลไบรท์ไม่ต้องใช้ financial statement แต่จะใช้ในการสมัครเรียนและเตรียมเอกสารขอวีซ่า

 

กลุ่มที่2:เดาใจกรรมการ

 

กรรมการจะดูอะไรจากใบสมัครเด็กกิจกรรมได้เปรียบกว่าเด็กเรียนมั๊ย ถ้ามีประสบการณ์ทำงานจะได้คะแนนเพิ่มรึเปล่า

 

ข้อแรก ทั้งกรรมการคัดเลือกใบสมัครและกรรมการสัมภาษณ์จะพิจารณาทุกสิ่งที่อยู่ในใบสมัครเป็นองค์รวม เพราะแต่ละส่วนไม่ว่าจะเป็น Personal Statement(PS), Statement of Purpose (SOP), transcript, letters of recommendation จะประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา ดังนั้นในการประกอบร่างใบสมัครเราควรจะคิดไว้ก่อนว่าแต่ละส่วนจะเน้นมุมไหนของเรา(ซึ่งไม่ควรซ้ำกัน เพื่อไม่ให้เปลืองที่และไม่เวิ่นเว้อ) ใช่แล้ว เราสามารถให้ข้อมูลคนเขียนจดหมายรับรองให้เน้นเรื่องไหนเป็นพิเศษได้(แต่เขาต้องรู้จริง ๆ นะ และขึ้นอยู่กับความเห็นของคนเขียนด้วย)

เรื่องกิจกรรมถือเป็นส่วนเสริมที่จะช่วยให้ภาพว่าเรามี passion อะไร หรือมี skillด้านไหนเป็นพิเศษ บางครั้งก็ทำให้เหตุผลในการเลือกสาขาหรือเป้าหมายในอนาคตของเรามีน้ำหนักขึ้น แต่ กิจกรรมในที่นี้จะต้องเป็นกิจกรรมที่เรามีส่วนร่วมเป็นเรื่องเป็นราวไม่ใช่แค่การเข้าร่วมครั้งสองครั้งแบบเฮตามเพื่อนไป

 

แล้วคนที่ไม่ใช่สายกิจกรรมล่ะอย่าเครียดไป เราก็ต้องหาจุดอื่นมาโปรโมทตัวเอง บางคนมีงานอดิเรกที่น่าสนใจ เช่นถ่ายภาพหิน ผสมสีหมึก (มีจริง ๆ นะ)แล้วสามารถโยงกับเรื่องที่จะไปเรียนได้แบบมีเหตุมีผลก็จะทำให้ใบสมัครมีสีสันไปอีกแบบ บางคนมีเรื่องราวจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เป็นจุดผลิกผันทำให้อยากเรียนสาขานี้ก็ได้เหมือนกัน

 

ทีนี้เรื่องประสบการณ์อันนี้แล้วแต่สาขา ถ้าเป็นสาขาที่เน้น class discussion และ casestudies เช่น ธุรกิจ การตลาด กฎหมาย หรือสาขาที่มีสร้อย administrationทั้งหลาย การมีประสบการณ์จะทำให้เรามีเรื่องไปแชร์กับคนอื่นได้เข้าใจการทำงานจริง และมีมุมมองที่มากกว่าตอนจบใหม่ ๆ

 

พี่ๆ ฟุลไบรท์ในสายกฎหมายให้คำแนะนำในเรื่องนี้ไว้ดีมาก ๆ ว่า เราจะต้อง convince กรรมการให้เห็นถึงปัญหา (โจทย์ที่ทำให้เราต้องไปเรียนสาขานั้น ๆ) passion,inspiration พร้อมเหตุผลที่ strong เห็นถึงแผนการเรียนและเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจนที่สำคัญคือ real (ไม่ต้องเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากแต่มีประโยชน์และเป็นไปได้)

 

ส่วนพี่สายเศรษฐศาสตร์ก็เสริมว่าอันที่จริงหน้าตาใบสมัครที่เด่น ๆ ก็จะคล้าย ๆ กัน คือผลการเรียนดี เขียน PS, SOP ชัดเจนมีประเด็น ดังนั้นตัวที่จะช่วยสร้างความแตกต่างคือจดหมายรับรองที่หลาย ๆ คนมองข้าม เพราะจะให้มุมมองจากบุคคลที่สามได้ดีและช่วยให้กรรมการรู้จักผู้สัมภาษณ์ในลักษะปัจเจกบุคคล

 

และต้องไม่ลืมว่าวัตถประสงค์หลักของทุนฟุลไบรท์คือการสร้างmutualunderstanding ความร่วมมือและสันติภาพผ่านการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา เราจึงไม่ได้มองหาคนที่เก่งทีสุดแต่ต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติของ cultural ambassador เป็นคนที่มีopen-minded มี caring spirit คือคิดถึงคนอื่นนอกจากตัวเองซึ่งจะทำให้ impact ในการรับทุนของเรากระจายไปสู่คนอื่น ๆด้วย

 

คราวหน้าเราจะพูดถึงเรื่องสาขาวิชาเทคนิคในการเขียน SOPและการสัมภาษณ์จากมุมมองคนที่ได้รับทุน

 

Note: ฟุลไบรท์มีจัดอบรมเกี่ยวกับการสมัครทุนและการเรียนต่อต่างประเทศเป็นระยะหรือตามความต้องการของสถาบันในเครือข่าย โดยมีหัวข้ออบรม เช่น การเขียน statementof purpose (รวมถึงเรื่อง plagiarism) การสอบสัมภาษณ์และ cross cultures ติดตามรายข้อมูลข่าวสารได้ที่เฟสบุ๊คเพจ