Home
>
Knowledge Sharing
Tips for Application: Resume

นอกจาก SOP,SP และ Letter of Recommendation แล้ว ยังมีเอกสารประกอบการสมัครทุนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งและเป็นเอกสารที่คนมักจะมีความสับสนกันอยู่ นั่นคือ CV (Curriculum Vitae) และ Résumé (หรือจะเขียนว่า Resume ก็ได้) ซึ่งมักจะใช้เรียกแทนกันไปมา แต่ CV กับ Résumé มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยในเรื่องวัตถุประสงค์และความยาวขณะที่ CV เป็นการให้ข้อมูลประวัติการศึกษาและการทำงานอย่างละเอียดยิบมีความยาวไม่จำกัด Résumé จะเป็นการสรุปประเด็นสำคัญของตัวเราที่เกี่ยวข้องกับการสมัครงานสมัครเรียน หรือสมัครทุนนั้น ๆ ซึ่งจะยาวไม่เกิน 2 หน้าประมาณว่าต้องให้คนอ่านสามารถรู้จักเราได้ในเวลาที่สั้นที่สุด สำหรับการสมัครทุนฟุลไบรท์ส่วนใหญ่เราจะขอเป็น Résumé ซึ่งจะสั้นกว่า ตรงประเด็นกว่าดังนั้นวันนี้ก็เลยจะมาชวนคุยเรื่องการเขียน Résumé กัน

 

หลัก ๆ เลย Résumé จะประกอบด้วย

1.     Name and Contact Information

ปกติชื่อ-นามสกุลจะอยู่ด้านบนสุดและเด่นเป็นพิเศษตามมาด้วยที่อยู่ เบอร์ติดต่อ อีเมล ถ้ามีเว็บไซด์ หรือบล็อกก็ใส่ด้วยได้ตรงนี้ขอย้ำนิดนึงว่าที่อยู่ เบอร์ติดต่อ และอีเมล ควรจะสามารถติดต่อได้จริงและเขียนให้ถูกต้องไม่เช่นนั้นเราอาจเสียสิทธิโดยไม่รู้ตัวได้  อีกอย่างนึงคือ เบอร์อีเมลที่ใช้ควรมีหน้าตาที่ดูเป็นทางการน่าเชื่อถือ พวกที่เป็นชื่อในวงการหรือมีเอกลักษณ์มากเกินไปจะทำให้คนอ่านรู้สึกว่าเราไม่มีวฺฒิภาวะพอ

 

2.      Objective /Personal Profile

เป็นข้อความสั้น ๆ ที่ช่วยให้คนอ่านรู้จักเราได้ทันทีอาจจะพูดถึงทักษะสำคัญ ความคาดหวัง หรือเป้าหมายในอนาคต ขอยกตัวอย่าง personalprofile ที่สร้างสรรค์มากจากเพจ University of Maryland

 

“Seniorwith a head full of ideas, a case full of pencils, and the design skill topropel any design project to the next level. Enthusiastic, with a healthy senseof humor and skills in a variety of traditional and digital mediums.”

 Ref. https://careers.umd.edu/sites/careers.umd.edu/files/TerpGuide2018%20-%20Graphic%20Design%20Resume%20Sample.pdf

 

แน่นอนว่า objective/personal profile นี้ควรต้องสอดคล้องกับโปรแกรมที่สมัคร และตอบโจทย์ทุนนั้น ๆ

 

3.     Education

ประวัติการศึกษาปกติจะไล่จากล่าสุดลงไป โดยเน้นเฉพาะระดับอุดมศึกษาและให้รายละเอียดที่เป็นหลักฐานแสดงคุณวุฒิของเรา

·        ชื่อสถาบันการศึกษา ที่ตั้ง(จังหวัด ประเทศ)

·        ปริญญาที่ได้ (เช่น B.A.M.A. Ph.D.) สาขาที่เรียน (เช่น Education) เกรดเฉลี่ย(PGA – ถ้าได้เกรด 3ขึ้นไป)

·        อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ใบสมัครของเราเช่น โปรเจคที่เคยทำ วิทยานิพนธ์ วิชาเลือก กิจกรรมชมรม/อาสาสมัคร หรือ

         รางวัลสำคัญๆ

 

4.     Work Experience

ประสบการณ์ทำงานโดยมากก็จะเรียงจากล่าสุดลงไปเช่นกันส่วนนี้จะให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับทักษะและศักยภาพของเราโดยมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นreferenceสิ่งที่ควรใส่ในส่วนนี้จะได้แก่

·      ชื่อที่อยู่ของหน่วยงานช่วงเวลาที่เราทำงานกับหน่วยงานนั้น ๆ

·      ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดยสรุป อาจจะเพิ่มทักษะสำคัญที่ได้เรียนรู้โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม/ทุนที่เราสมัคร ซึ่งควรจะเป็น

        ทักษะที่สามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้และเป็นทักษะติดตัวเราไปไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

 

นอกจากเนื้อหาแล้วหน้าตาของ Résumé ก็จะช่วยสะท้อนตัวตนของเราได้ในระดับหนึ่งเนื่องจากเราต้องการให้คนอ่านรับสารได้เร็วที่สุด Résumé ของเราจะต้องอ่านง่ายสบายตา ตัวอักษรชัด มีช่องไฟเหมาะสม ไม่ใส่ลูกเล่นเยอะแนะนำให้เน้นหัวข้อด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ + ตัวหนาถ้าทำให้อยู่ในหน้าเดียวได้จะดีที่สุด เราสามารถปรับแต่งการวางข้อความให้เป็น 2 columns (ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับจากบนลงล่าง) โดยให้หัวข้อสำคัญอยู่ด้านบนเช่น คนที่มีประสบการณ์ทำงานมาพอสมควรอาจจะยกส่วน work experience และ skills ไว้ก่อน education ก็ได้

 

ใครที่มองหาตัวอย่างหรืออยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน Résuméขอแนะนำให้เข้าไปดูในเพจของ Purdue Online Writing Lab ของ Purdue University และ Division of Student Affairs ของ University of Maryland ตามที่อยู่ข้างล่าง

 

https://owl.purdue.edu/owl/job_search_writing/resumes_and_vitas/index.html

https://careers.umd.edu/students/resumes-cover-letters/resume-samples

 

Note: ฟุลไบรท์มีจัดอบรมเกี่ยวกับการสมัครทุนและการเรียนต่อต่างประเทศเป็นระยะหรือตามความต้องการของสถาบันในเครือข่าย โดยมีหัวข้ออบรม เช่น การเขียน statement of purpose (รวมถึงเรื่อง plagiarism) การสอบสัมภาษณ์และ cross cultures ติดตามรายข้อมูลข่าวสารได้ที่เฟสบุ๊คเพจ